ในปี 2567 นี้ นอกจากจะมี โรคติดต่อที่แพร่ระบาดอย่างแน่นอน 3 โรคแล้ว ไม่ว่าจะเป็น
ไข้เลือดออก โควิด19 ไข้หวัดใหญ่ ที่เราคุ้นหูกันอย่างดี และนอกจากสามโรคดังกล่าว เรายังต้องเฝ้าระวังอีก 12 โรคดังนี้
โรคมือเท้าปาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของโรคมือเท้าปาก คือ เด็กเล็กที่อยู่ในชั้นวัยเรียนในระดับอนุบาล ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ก็มีโอกาสป่วยได้เช่นกัน
โรคหัด ในปี 2567 คาดการณ์ผู้ป่วยจำนวน 1,089 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่มีผู้ป่วย 611 คน
โรคฝีดาษลิง (Mpox) ปี 2567 คาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มสูงสุดในช่วงเดือน ต.ค.นี้ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับคนแปลกหน้า
โรคไข้ดิน กลุ่มเสี่ยงคือเกษตรกร ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
โรคฉี่หนู คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วย 2,800 คน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศ
โรคไข้หูดับ หากทำงานเกี่ยวข้องกับหมู หรือชิ้นส่วนหมูสด ต้องสวมถุงมือยาง รองเท้าบู๊ท และในขณะเดียวกัน สำหรับการรับประทานต้องรับประทานเฉพาะเนื้อหมูที่ปรุงสุก
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ปี 2567 คาดว่าโรคจะระบาดอย่างหนัก และจะพบผู้ป่วยเพิ่มสูงสุดในช่วงเดือน ก.ค.นี้ ในปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยสะสม 758 คน จำนวนนี้เป็นหญิงตั้งครรภ์ 41 คน ส่งผลให้ลูกที่คลอดมามีศีรษะเล็กมากถึง 13 คน
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ
โรคชิคุนกุนยา ปี 2567 สถานการณ์การระบาด ยังขึ้นอยู่กับการป้องกันตนเองของประชาชน
โรคซิฟิลิส ปี 2567 คาดว่าจะมีผู้ป่วยสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว แนะนำผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกราย ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ควรพาสามี หรือคู่ครอง ไปตรวจคัดกรองหาเชื้อซิฟิลิส เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไปสู่ทารกในครรภ์
โรคหนองใน ซึ่งการระบาดคาดว่าจะเพิ่มสูงในช่วงเดือน ม.ค. นี้ จากนั้นจะลดลงไปเรื่อยๆ
ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
โรคเอชไอวี เอดส์ ประเทศไทยมีแนวโน้มผู้ป่วยที่ลดลง แต่ยังพบผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตอยู่อีกจำนวนมาก คาดว่าจะมีผู้ป่วย 9,366 คนที่เพิ่มขึ้น และยังจะมีผู้ป่วยสะสมเสียชีวิตอีกประมาณ 10,014 คน
HIV กับ เอดส์ ต่างกันอย่างไร?
โรควัณโรค มีแนวโน้มจะพบผู้ป่วยรายใหม่ และผู้ป่วยกลับมาป่วยซ้ำเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 66 สำหรับผู้ที่มีอาการไอติดต่อกันนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ รวมถึงไอแบบมีเสมหะปนเลือด และน้ำหนักลดลง ควรรีบไปพบแพทย์
ที่มา https://www.sikarin.com/health/23547