อำนาจหน้าที่
     
อำนาจหน้าที่ อำนาจหน้าที่
   
 

ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา

 

        การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมสร้าง ร่วมจัดทำส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา จะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่ให้เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง และเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชากร นอกจากนี้ ยังได้เน้นการส่งเสริม และสนับสนุนในด้านการศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพโดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านการพัฒนาอาชีพ นั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น และเศรษฐกิจแบบพอเพียง

 

      โดยส่วนรวมการวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กฎหมายอื่นของ อบต. ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้ เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้

 

1.ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

1.1 การคมนาคมขนส่ง มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และได้มาตรฐาน สามารถเชื่อมโยงไปยังพื้นที่อื่นๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

1.2 แหล่งน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค บริโภค และใช้เพื่อการประกอบอาชีพ อย่างเพียงพอ และทั่วถึง

1.3 ขยายเขตการให้บริการระบบไฟฟ้าให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

1.4 ขยายไฟฟ้าสาธารณะในเขตชุมชนให้ทั่วทั้งตำบล

1.5 ขยายเขตระบบประปาให้ทั่วถึงทั้งตำบล

1.6 ส่งเสริมเครื่องสูบน้ำพลังไฟฟ้าเพื่อการเกษตรทั่วทั้งตำบล

 

2. ด้านการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.1 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลรักษา ให้มีความสมดุลทางธรรมชาติ

2.2 ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และดูแลรักษาให้มีความอุดมสมบูรณ์

2.3 ชุมชนน่าอยู่อาศัย มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม ปราศจากมลภาวะ และสิ่งปฏิกูล

2.4 มีระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

2.5 บริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ

2.6 สร้างเตาเผาขยะประจำตำบล

 

3. ด้านการพัฒนาการศึกษา

3.1 ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาทุกระดับได้อย่างทั่วถึง

3.2 สภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียนดี มีสังคม บรรยากาศสิ่งแวดล้อม เอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ

3.3 ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษามืออาชีพ และจำนวนเพียงพอ

3.4 ลักษณะทางกายภาพของโรงเรียนได้มาตรฐาน

3.5 หลักสูตรเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น

3.6 สื่อ/อุปกรณ์เทคโนโลยีทันสมัย

3.7 พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ได้มาตรฐาน

 

4. ด้านการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพอนามัย

4.1 สร้างสิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ เช่น การสนับสนุนส่งเสริมให้มี สวนสุขภาพ สวนสาธารณะ พื้นที่สาธารณะในรูปแบบต่างๆ

4.2 การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ให้สามารถปรับพฤติกรรมเพื่อสร้างสุขภาพ ให้บุคคล และครอบครัวมีความรู้ความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

4.3 การปรับเปลี่ยนระบบบริการสาธารณสุข โดยเน้นบริการองค์รวมทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณการบริการที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน และชุมชน

4.4 จัดการรักษาพยาบาลตำบล 1,000 เตียง

 

5. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ

5.1 ประชาชนมีงานทำ ประกอบอาชีพที่สุจริต และมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ

5.2 สินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เป็นที่ต้องการของตลาด

5.3 เกษตรกรมีรายได้ที่แน่นอนและมั่นคงจากการประกอบอาชีพ

5.4 แก้ปัญหาภัยแล้งแบบยั่งยืน เพื่อลดการขาดรายได้ของเกษตรกร

 

6. ด้านการพัฒนาสวัสดิการ

6.1 ผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้รับการยอมรับ และการช่วยเหลือจากสังคมสามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

6.2 สร้างระบบความมั่นคงทางสังคม โดยการช่วยเหลือทางสังคม การประกันสังคม และการจัดบริการทางสังคม

6.3 สร้างระบบการช่วยเหลือทางสังคม ที่ต้องเน้นการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ ให้ชัดเจน และให้การช่วยเหลือให้ไว้อย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน

 

7. ด้านการพัฒนาการส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญา

7.1 รักษาสืบทอดวัฒนธรรมของชาติ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้คงอยู่ อย่างมั่นคง

7.2 สร้างค่านิยม จิตสำนึก และภูมิปัญญาคนไทย

7.3 นำทุนทางวัฒนธรรมของตำบลมาสร้างคุณค่าทางสังคม และเพิ่มพูนมูลค่าทางเศรษฐกิจ

7.4 การบริหารจัดการองค์ความรู้ทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

 

8. ด้านการพัฒนาการจัดระเบียบชุมชน

8.1 ส่งเสริมให้มีการจัดระเบียบชุมชน การรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชน

8.2 ชุมชนปลอดภัยอบายมุข ปัญหายาเสพติด และอาชญากรรมด้านต่างๆ

8.3 ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆของชุมชน

8.4 ประชาชนมีระเบียบวินัย มีสามัญสำนึกที่ดีต่อตนเองสังคมและประเทศชาติ เป็นสังคมแห่งคุณธรรม และจริยธรรม

8.5 ส่งเสริมให้มีสภาเด็กและเยาวชนทุกหมู่บ้าน

8.6 สร้างสนามกีฬาประจำตำบล

 

9 ด้านการพัฒนาการจัดระเบียบเมือง

3.1 จัดระบบการผังเมืองให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการ สาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต

3.2 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร การปกครอง และการบริการทางด้านเกษตรกรรมของตำบลบางศาลา และตำบลใกล้เคียง

3.3 ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชน และระบบเศรษฐกิจ

3.4 พัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน

 

10. ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการ

10.1 การพัฒนาส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

10.2 การพัฒนาเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ตรวจสอบ ติดตามการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

10.3 พัฒนาปรับปรุงสำนักงาน วัสดุครุภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศและสิ่งอำนวย ความสะดวกต่าง ๆ ในการให้บริการประชาชน

10.4 พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

   
 
 
 
     
     
 
ประกาศเมื่อ 14 กันยายน 2566