1. ระบบเศรษฐกิจ
1.1 การเกษตร
ตำบลบางศาลามีการประกอบอาชีพทางเกษตร ดังนี้
- ข้าว จำนวน 343.09 ไร่
- ปาล์มน้ำมัน จำนวน 3,781.76 ไร่
- มะพร้าว จำนวน 670.7 ไร่
- ส้มโอทับทิมสยาม จำนวน 3 ไร่
- พืชผัก จำนวน 54.25 ไร่ ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอปากพนัง ข้อมูล ณ วันที่ 15 กันยายน 2564
1.2 การประมง
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลาประชาชนบางส่วนมีการทำการประมงน้ำจืด ปลาทะเล ปู หอยทะเล กุ้งทะเล ดังนี้
ลำดับที่
|
ชนิด
|
จำนวนเกษตรกร
|
1
|
กุ้งทะเล
|
13 ราย
|
2
|
กุ้งน้ำจืด
|
1 ราย
|
3
|
ปลาทะเล
|
0 ราย
|
4
|
ปลาน้ำจืด
|
103 ราย
|
5
|
สัตว์น้ำอื่น ๆ
|
1 ราย
|
1.3 การปศุสัตว์
การปศุสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือน จำนวนครัวเรือนในภาคปศุสัตว์ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ จำนวน 577 ราย ดังนี้
ก. เลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 239 ครัวเรือน
ข. เลี้ยงโคนม จำนวน - ครัวเรือน
ค. เลี้ยงกระบือ จำนวน - ครัวเรือน
ง. เลี้ยงสุกร จำนวน 3 ครัวเรือน
จ. เลี้ยงไก่พื้นเมือง จำนวน 239 ครัวเรือน
ฉ. เลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 2 ครัวเรือน
ช. เลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 24 ครัวเรือน
ซ. เลี้ยงไก่ลูกผสม จำนวน - ครัวเรือน
ฌ. เลี้ยงเป็ดเทศ จำนวน 48 ครัวเรือน
ญ. เลี้ยงเป็ดเนื้อ จำนวน - ครัวเรือน
ฎ. เลี้ยงเป็ดไข่ จำนวน 15 ครัวเรือน
ฏ. เลี้ยงแพะ จำนวน 4 ครัวเรือน
ฐ. เลี้ยงแกะ จำนวน - ครัวเรือน
ฑ. เลี้ยงนกกระทา จำนวน - ครัวเรือน
ฒ. สัตว์เลี้ยงอื่น ๆ จำนวน 3 ครัวเรือน
1.4 การบริการ
การให้บริการในเขตตำบลบางศาลา จะเป็นลักษณะสถานบริการดังนี้
- ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ อู่ซ่อมรถ จำนวน 3 แห่ง
- ร้านตัดผ้า จำนวน 1 แห่ง
- บ้านเช่า จำนวน 1 แห่ง
- ร้านเสริมสวย จำนวน 1แห่ง
- ร้านบริการรับส่งแฟ็ก จำนวน 1 แห่ง
- คาร์แคร์ จำนวน 1 แห่ง
1.5 การท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางศาลา ดังนี้
1. วัดหลงบน อยู่ที่ หมู่ที่ 3 ตำบลบางตะพง เป็นสถานที่ที่มีพ่อท่านเขียวให้ประชาชนมากกราบไหว้
2. ร้านผัดไทย อยู่ที่ หมู่ที่ 5 ตำบลบางศาลา เป็นร้านอาหารสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวที่จะมารับประทานผัดไทยที่มีชื่อเสียงของอำเภอปากพนัง
1.6 อุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมในพื้นที่ตำบลบางศาลา จะเป็นอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้ง
1.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
ในพื้นที่ความรับผิดชอบมีร้านขายของชำ จำนวน 8 ร้าน
กลุ่มอาชีพได้แก่
1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ ชุมชนบางศาลา
2. กลุ่มจักสาน หมู่ที่ 2,3 ตำบลบางตะพง
3. กลุ่มบ้านออกน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น หมู่ที่ 3 ต.บางศาลา
4. กลุ่มสตรีตำบลบางตะพง ทำเหรียญโปรยทาน
5. กลุ่มผ้าบาติก หมู่ที่ 4 ต.บางตะพง
6. กลุ่มร้านค้าชุมชนบางศาลา
7. กลุ่มเกษตรกรแปรรูปผลผลิต ม. 3 ต.บางตะพง
8. กลุ่มเกษตรกร ม. 1,2 ต.บางตะพง และ ม. 9 ต.บางศาลา
9. กลุ่มทำนาบ้านบางขลัง
10. กลุ่มเลี้ยงปลานิล ม. 5 บางศาลา
11. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงปลานิล ม. 2 ต.บางศาลา
1.8 แรงงาน
- แรงงานส่วนใหญ่มีความรู้ระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า
- แรงงานต่างด้าว ที่เป็นสัญชาติ เมียนมา ลาว กัมพูชา ส่วนใหญ่แรงงาน 3 สัญชาติจะทำงานเกี่ยวกับกิจกรรมการก่อสร้าง เกษตร และปศุสัตว์
- แรงงานในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเน้นการทำเกษตรกรรม เนื่องจากบริบทของพื้นที่ยังเป็นพื้นที่ชนบท
2. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
2.1 การนับถือศาสนา
ประชาชนในพื้นที่นักถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในเขตตำบลบางศาลา มีดังนี้
วัด 6 แห่ง
2.2 ประเพณีและงานประจำปี
ประเพณีประจำถิ่นและงานประจำปีตำบลบางศาลา มีดังนี้
- วันขึ้นปีใหม่ ทำบุญตักบาตร ฟังธรรมเทศนา
- ประเพณีจบปี จบเดือน ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำผู้สูงอายุ
- ประเพณีวันรับตายาย (รับเปรต) วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เชื่อว่าเป็นวันที่ยมทูตปล่อยวิญญาณบรรพบุรุษมารับส่วนบุญจากลูกหลาน จะทำพิธีรับวิญญาณ
- ประเพณีวันส่งตายาย (ส่งเปรต) วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 (หลังวันรับ 15 วัน) เชื่อว่าเป็นการส่งวิญญาณบรรพบุรุษกลับ ชาวบ้านจึงให้ความสำคัญมากกว่าวันรับ
- งานชักพระ-ทอดผ้าป่า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 คืนวันพระ 15 ค่ำ พระสงฆ์ร่วมกับชาวบ้านทำเรือพนมพระ รถพนมพระ ตกแต่งพุ่มผ้าป่าแล้วร่วมกันแห่
- ประเพณีลอยกระทง จัดช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
2.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
เกษตรผสมผสานต้นแบบ หมู่ที่ 6
การรักษาแพทย์แผนไทยโดยพืชสมุนไพร หมู่ที่ 3
ช่างไม้ ทำบ้าน หมู่ที่ 2
ถักแห ซ่อมอวนทำสุ่ม อุปกรณ์จับปลา หมู่ที่ 9
ศิลปะการแสดงด้านกลองยาว(คณะสามพี่น้อง) หมู่ที่ 7
เพลงบอกพื้นบ้าน หมู่ที่ 3
2.4 OTOP สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ด้วยในพื้นที่ตำบลบางศาลา ประชาชนบางส่วนจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง ผลิตภัณฑ์หรือของฝากที่น่าสนใจ ก็จะเป็นอาหารทะเล และบางส่วนประชาชนจะทำอาชีพเกษตรกร ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของตำบลบางศาลา ได้แก่ ส้มโอทับทิมสยาม , น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น,ผ้าบาติก
3. ทรัพยากรธรรมชาติ
3.1 น้ำ
แหล่งน้ำที่ใช้ในพื้นที่ เป็นน้ำจากคลองชลประทานลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งมีน้ำตลอดปี ในพื้นที่จะมีห้วย ลำธารสาธารณ ที่ใช้ในการระบายน้ำในฤดูฝน
1. คลอง มีทั้งหมด 20 แห่ง ประชาชนใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรม
3.2 ป่าไม้
เนื่องจากบริบทของพื้นที่เป็นลักษณะชุมชนกึ่งชนบท ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าชายเลน
3.3 ภูเขา
เนื่องจากบริบทของพื้นที่เป็นลักษณะชุมชนกึ่งชนบท พื้นที่ตำบลบางศาลา ไม่มีพื้นที่ติดภูเขา
3.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พื้นที่ตำบลบางศาลายังมีแหล่งอาหารทะเลที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์สูง เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น