กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ
|
|
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ มี 2 ฉบับ ดังนี้ |
|
|
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535
2. พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 |
|
|
|
พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ |
|
|
1. ให้สถานที่สาธารณะต่อไปนี้ ขณะทำการให้หรือใช้บริการเป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด
|
|
|
|
- รถยนต์โดยสารประจำทาง
- รถยนต์โดยสารรับจ้าง
- ตู้โดยสารรถไฟที่มีระบบปรับอากาศ
- เรือโดยสาร
- เครื่องบินโดยสารภายในประเทศ
- ที่พักผู้โดยสารเฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศและที่พักผู้โดยสารรถไฟฟ้า
- ลิฟต์โดยสาร
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ
- รถรับส่งนักเรียน
- โรงมหรสพ
- ห้องสมุด
- ร้านตัดผม
- ร้านตัดเสื้อ
- สถานเสริมความงาม
- ห้างสรรพสินค้าที่มีระบบปรับอากาศ
- ร้านอินเตอร์เน็ต
- สถานที่ออกกำลังกายเฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ
- สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
- ศาสนสถานเฉพาะบริเวณที่ประกอบศาสนกิจ
- ร้านขายยา
- สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ
- สุขา
- ท่าเทียบเรือสาธารณะ
- สถานที่เล่นกีฬาโบว์ลิ่ง |
|
|
2. ให้สถานที่สาธารณะต่อไปนี้ ขณะทำการ ให้หรือใช้บริการเป็นเขตปลอดบุหรี่ เว้นแต่บริเวณห้องพักส่วนตัว หรือห้องทำงานส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงาน |
|
|
ในสถานที่สาธารณะนั้น |
|
|
|
-โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ต่ำกว่าระดับอุดมศึกษาโดยครอบคลุมพื้นที่ภายในบริเวณรั้วโรงเรียนหรือสถานศึกษาทั้งหมด
- อาคารจัดแสดงศิลปะวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์สถาน หรือหอศิลป์
- สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคือ
- สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน
- สนามกีฬาในร่ม |
|
|
3. ให้สถานที่สาธารณะต่อไปนี้ ขณะทำการให้หรือใช้บริการเป็นเขตปลอดบุหรี่เว้นแต่ |
|
|
|
3.1 บริเวณห้องพักส่วนตัว หรือห้องทำงานส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงานในสถานที่สาธารณะนั้น
3.2 บริเวณที่จัดไว้ให้เป็น "เขตสูบบุหรี่" เป็นการเฉพาะ ต้องมีการระบายอากาศถ่ายเทหมุนเวียนระหว่างภายนอกอาคารและภายในเขตสูบบุหรี่ไม่น้อยกว่า 50 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน |
|
|
|
- อาคารของมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถานบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
- บริเวณแสดงสินค้าหรือนิทรรศการเฉพาะที่มีระบบปรับอากาศ
- สถานที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
- ธนาคาร และสถาบันการเงิน
- สำนักงานที่มีระบบปรับอากาศ
- อาคารท่าอากาศยาน |
|
|
4. ตู้โดยสารรถไฟที่ไม่มีระบบปรับอากาศ จะจัดเป็นเขตสูบบุหรี่ได้ ต้องมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนตู้ที่ไม่มีระบบปรับอากาศในขบวนนั้น |
|
|
|
โทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน |
|
|
- ห้ามมิให้ผู้ใดสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ผู้ดำเนินการของสถานประกอบการที่กำหนดไว้ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท |
|
|
|
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 |
|
|
จุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันการโฆษณา และส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลให้การบริโภคยาสูบของประชาชนสูงขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการป้องกันโรคภัยอันเกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน |
|
|
ในพระราชบัญญัตินี้ "ผลิตภัณฑ์ยาสูบ" หมายถึง ผลิตภัณฑ์อื่นใดที่มีส่วนประกอบของใบยาสูบหรือพืช นิโคเชียนาทาแบกกุ้ม (NICOTIANATABACUM) ไม่ว่าจะใช้เสพโดยวิธีสูบ ดูด ดม อม เคี้ยว กิน เป่า หรือพ่นเข้าไปในปาก หรือจมูกหรือโดยวิธีอื่นใดเพื่อให้ได้ผลเป็นเช่นเดียวกัน |
|
|
สาระสำคัญพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 |
|
|
|
ห้าม ขาย แลกเปลี่ยน ให้บุหรี่แก่บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี โทษฝ่าฝืน จำคุก 1 เดือน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท |
|
|
|
ห้าม ขายโดยใช้เครื่องขาย โทษฝ่าฝืน จำคุก 1 เดือน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท |
|
|
|
ห้าม |
|
|
|
1) ขายสินค้าให้บริการ โดย แจก, แถม, ให้, แลกเปลี่ยนกับบุหรี่
2) ขายบุหรี่ โดย แจก, แถม, ให้, แลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่น/บริการ เป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อบุหรี่ หรือผู้นำหีบห่อมาแลกเปลี่ยน/แลกซื้อ
3) ให้/เสนอให้สิทธิ์ในการเข้าชมการแข่งขัน, การแสดง, การให้บริการ เป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อบุหรี่ หรือผู้นำหีบห่อบุหรี่มาแลกเปลี่ยน/แลกซื้อ โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท |
|
|
|
ห้าม แจก บุหรี่เป็นตัวอย่าง/เพื่อให้แพร่หลาย (ยกเว้นการให้ตามประเพณีนิยม) โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท |
|
|
|
ห้าม โฆษณา หรือแสดงเครื่องหมาย ในสิ่งพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์, สื่ออื่น |
|
|
|
ห้าม ใช้ชื่อบุหรี่ ในการแสดง, การแข่งขัน, การให้บริการ (ยกเว้นสิ่งพิมพ์จากนอกราชอาณาจักร รายการถ่ายทอดสดจากต่างประเทศ) โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 200,000 บาท |
|
|
|
ห้ามโฆษณา สินค้าที่ใช้ชื่อบุหรี่เป็นเครื่องหมายของสินค้านั้น โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท |
|
|
|
ห้ามผลิต นำเข้า โฆษณา สินค้าที่เลียนแบบบุหรี่หรือซองบุหรี่ โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท |
|
|
|
ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า ต้องแจ้งรายการส่วนประกอบของบุหรี่ให้กระทรวงสาธารณสุข โทษฝ่าฝืน จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท |
|
|
|
ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า ต้องแสดงฉลากที่ซองบุหรี่ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท |
|
|
|
ห้าม ผลิตบุหรี่ที่มิได้แสดงฉลากตามมาตรา (12) โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท |